วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน    ครั้งที่  6

วันศุกร์   ที่  19  กรกฎาคม   พ.ศ.  2556


ความรู้ที่ได้รับ

 แนวทางจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    
    1.  การจัดประสบการณ์ทางภาษาเน้นทักษะทางภาษา ( Skill   Approch )   

         -   การให้เด็กรู้จักคำย่อยๆของภาษา
         -   การประสมคำ
         -   ความหมายของคำ
         -   นำคำมาประกอบเป็นประโยค  
         -   การแจกลูกสะกด   การเขียน     เช่น
กู  งู   ดู   หู   รู   ปู   เป็นต้น   ซึ่งบางคำอาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายจึงไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กและลักษณะการเรียนรู้

Kenneth   Goodman  :   ได้เสนอแนวทางการสอนแบบธรรมชาติมีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด   แนวทางการสอนพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็กที่สนใจ  อยากรู้  อยากเห็น  สิ่งรอบข้าง  ช่างสงสัย  ช่างซักถามโดยเด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์ และจิตนาการ ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเลียนแบบคนรอบข้าง

    2.   การสอนแบบธรรมชาติ  ( Whole   Language  )   
         
           ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ :  อาทิ ดิวอี้ (Dewey) เปียเจต์ (Piaget) ไวก็อตสกี้ (Vygotsky) ฮอลลิเดย์ (Halliday)  
โดยสรุปการสอนแบบธรรมชาติ    คือ    สอนแบบบูรณาการ  องค์รวม สอนในสิ่งที่เด็กสนใจ  สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน   สอดแทรกทักษะการฟัง  พูด   อ่าน    เขียน ไปพร้อมกับกิจกรรมไม่เข้มงวดกับการท่อง  สะกด หรือบังคับเด็กให้เขียน

หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

1.   การจัดสภาพแวดล้อม  :   ตัวหนังสือที่ปรากฎอยู่ในห้องเรียนจะต้องมีประโยชน์ในการใช้จริงๆ และเด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม

2.  การสื่อสารที่มีความหมาย   :    เด็กสามารถสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงมีจุดมุ่งหมายให้เด็กใช้เวลาในการอ่านและการเขียนตามโอกาส

3.   การเป็นแบบอย่าง    :    ครูจะต้องอ่าน  เขียน  เป็นแบบอย่างให้กับเด็ก

4.   การตั้งความคาดหวัง   :    ครูจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเด็กในการอ่าน  เขียน  และจะทำให้เด็กเขียนได้ถูกต้องมากขึ้น

5.   การคาดคะเน   :     เด็กมีโอกาสจะทดลองกับภาษาหรือคำที่อ่านโดยไม่หวังให้เด็กอ่าน เขียนได้เหมือนผู้ใหญ่ 

6.   การใช้ข้อมูลย้อนหลัง   :    ยอมรับการตอบสนองของเด็กในการใช้ภาษา 

7.   การยอมรับนับถือ    :    เด็กมีความแตกต่างจะเลือกทำกิจกรรมด้วยตนเองและในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวหรือไม่ทำกิจกรรมเป็นลำดับขั้นตอน

8.   การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น   :    ครูจะต้องไม่ทำให้เด็กกลัวที่จะขอความช่วยเหลือหรือการใช้ภาษาและไม่ตราหน้าว่าไม่มีความสามารถ  เพราะจะทำให้เด็กไม่เชื่อมั่นในตัวครูไม่กล้าจะถามครูอีก

บทบาทของครู
  •  ครูคาดหวังแต่ละคนแตกต่างกัน
  • ใช้ประสบการณืตรงในสนับสนุนการอ่าน  เขียน
  •  ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
  • ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์
นำไปใช้

1.   สามารถจัดกิจกรรมสร้างประสบการณ์ทางภาษาของเด็กให้มีความสนใจที่ตรงกับความต้องการของเด็กเป็นหลัก

2.   ตัวครูเองจะต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาที่ดีให้กับเด็กเพื่อให้เด็กใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม

3.    ครูไม่ควรไปคาดหวังกับเด็กมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เด็กเกิดความไม่กล้าที่จะทำสิ่งนั้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น