วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน     ครั้งที่   5

วันศุกร์   ที่  12   กรกฎาคม   พ.ศ.  2556    

วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย     กลุ่ม  101      เวลา   8.30-12.20  น.


วิธีการเรียนรู้ของเด็ก                       
  
พีนีย์  :   วิธีการเรียนรู้ผ่านการเล่น

      1.   การเรียนรู้ผ่านการเล่น   เช่น   การเล่นบทบาทสมมติ  พัฒนาการด้านร่างกาย   ความคิดสร้างสรรค์
      2.   การเรียนรู้โดยปฏิสัมพันธ์กับครู

องค์ประกอบของภาษา

      1.   Phonology    คือ  ระบบเสียงของภาษาที่มนุษย์ได้เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย   หน่วยเสียงจะประกอบเป็นคำ
      2.   Semantic      คือ   ความหมายของภาษาและคำศัพท์ซึ่งคำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย และความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน

ตัวอย่างเช่น

ภาษาไทย                                   ภาษาลาว


                    ห้องคลอด                                   ห้องประสูติ

                    ห้องไอซียู                                   ห้องมรสุม
                                              
                    ผ้าเย็น                                          อนามัย

                   ห้องผ่าตัด                                    ห้องปาด

                ถุงยางอนามัย                                ถุงปลิดชีวิต


    3.   Syntax     คือ   ระบบไวยากรณ์  การเรียงรูปประโยค   เช่น  ครูตีเด็ก   เด็กถูกครูตี   เป็นต้น

    4.   Praymatic    คือ   ระบบการนำไปใช้ โดยใช้ภาษาถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ


แนวคิดนักการศึกษา

     1.   แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม

     -    Skinner      สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษาให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

     -     JohnB.  Watson    ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก         การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก  เป็นสิ่งที่สามารถกกระทำได้   และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรม

    -     นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
            
  1. ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
  2. การเรียนภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมดดยสิ่งแวดล้อม
  3. เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
  4. เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม  เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
  5. เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเกิดเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น

    2.    แนวคิดกลุ่มพัฒนาการสติปัญญา

           -    Piaget     เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
           -    Vygotsty     สังคมบุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก  เป็นบทบาทของผู้ใหญ่ที่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

   3.     แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

           -     Arnold  Gesell    เน้นความพร้อมร่างกายในการใช้ภาษา   ความพร้อมวุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
  
   4.     แนวคิดเชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด

          -    Noam   Chomsky
         
             1.    ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
             2.    การเรียนภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
             3.    มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษาตั้งแต่เกิด

        -     O.  Hobart   mowrer   :   คิดค้นทฤฎีความพึงพอใจ  คือ    ความสามารถในการรับฟังและความเพลิดเพลินจากการได้  ส่งเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง   เป็นสิ่งสำคัญอบ่างยิ่งต่อการพัฒนาภาษา

       -     แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษา   :   เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก     นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน

       Richard   and   Rodger   :   ภาษาในการจัดประสบการณ์แบ่งเป็น  3  กลุ่ม

      1.    มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา  
  •   นำองค์ประกอบย่อยของภาษาใช้ในการสื่อความหมาย
  •   เสียง    ไวยากรณ์   การประกอบคำเป็นวลีหรือประโยค
      2.    มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา 
  •    เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
  •    การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
  •    ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
      3.     มุมมองด้านปฎิสัมพันธ์
  •     เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ในทางสังคม
  •     การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  •     เด็กมีปฎิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา



























































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น