วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  7
วันที่  26   กรกฎาคม    พ.ศ.   2556
ความรู้ที่ได้รับ



การเล่านิทานโดยการเล่าจากภาพวาดต่อจากเพื่อน   จากจิตนาการและทักษะทางภาษาจากการเล่าซึ้งนำไปใช้กับเด็กได้  เช่น   การทำกิจกรรมต่างๆควรเลือกสิ่งที่เด็กสนใจ  ต้องการเป็นอิสระมีความคิดและจิตนาการของเด็ก ไม่ควรมีลำดับขั้นตอน

การประเมิน

1.  การประเมินเครื่องมือที่หลากหลาย
2.  เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก  เช่น

     -   บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้และถ่ายทอดออกมา
     -   สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้

3.   ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย    เช่น   เด็กบางคนพูดเก่งเมื่ออยู่กับเพื่อน  แต่ออกมาหน้าชั้นเรียนอาจจะอายและไม่คอยพูด   เพราะฉะนั้นเราจะต้องดูหลายบริบทที่เขาทำ
4.   ให้เด็กมีโอกาสประเมินตัวเอง   เช่น   ให้เด็กได้เห็นผลงานของตนเองว่ามีพัฒนาการเป็นอย่างไร
5.   ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการเล่นและผลงาน   เช่น   ครูจะต้องใส่ใจถึงกระบวนการคิดของเด็กอย่าไปตัดสินใจที่ผลงานของเด็ก
6.    ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล   คือ   เราจะประเมินเด็กรวมไม่ได้ต้องดูของแต่ละคน

กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา

-   การเขียนคำบอก
-   ช่วยเด็กเขียนบันทึก
-   อ่านนิทานร่วมกัน
-   ร้องเพลง

ในผลงานของเด็กแต่ละชิ้นครูควรที่จะให้เด็กจิตนาการ   ส่วนครูมีหน้าที่เขียนบรรยายให้กับเด็ก

นำไปใช้

   การทำกิจกรรมของเด็กจะต้องเป็นอิสระเพื่อให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และจิตนาการในผลงานที่ทำไม่ควรมีข้อจำกัดพื้นที่ความคิดของเด็ก   และหากิจกรรมที่เพิ่มทักษะทางภาษาให้เหมาะสมกับเด็ก






วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน    ครั้งที่  6

วันศุกร์   ที่  19  กรกฎาคม   พ.ศ.  2556


ความรู้ที่ได้รับ

 แนวทางจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    
    1.  การจัดประสบการณ์ทางภาษาเน้นทักษะทางภาษา ( Skill   Approch )   

         -   การให้เด็กรู้จักคำย่อยๆของภาษา
         -   การประสมคำ
         -   ความหมายของคำ
         -   นำคำมาประกอบเป็นประโยค  
         -   การแจกลูกสะกด   การเขียน     เช่น
กู  งู   ดู   หู   รู   ปู   เป็นต้น   ซึ่งบางคำอาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายจึงไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กและลักษณะการเรียนรู้

Kenneth   Goodman  :   ได้เสนอแนวทางการสอนแบบธรรมชาติมีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด   แนวทางการสอนพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็กที่สนใจ  อยากรู้  อยากเห็น  สิ่งรอบข้าง  ช่างสงสัย  ช่างซักถามโดยเด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์ และจิตนาการ ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเลียนแบบคนรอบข้าง

    2.   การสอนแบบธรรมชาติ  ( Whole   Language  )   
         
           ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ :  อาทิ ดิวอี้ (Dewey) เปียเจต์ (Piaget) ไวก็อตสกี้ (Vygotsky) ฮอลลิเดย์ (Halliday)  
โดยสรุปการสอนแบบธรรมชาติ    คือ    สอนแบบบูรณาการ  องค์รวม สอนในสิ่งที่เด็กสนใจ  สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน   สอดแทรกทักษะการฟัง  พูด   อ่าน    เขียน ไปพร้อมกับกิจกรรมไม่เข้มงวดกับการท่อง  สะกด หรือบังคับเด็กให้เขียน

หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

1.   การจัดสภาพแวดล้อม  :   ตัวหนังสือที่ปรากฎอยู่ในห้องเรียนจะต้องมีประโยชน์ในการใช้จริงๆ และเด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม

2.  การสื่อสารที่มีความหมาย   :    เด็กสามารถสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงมีจุดมุ่งหมายให้เด็กใช้เวลาในการอ่านและการเขียนตามโอกาส

3.   การเป็นแบบอย่าง    :    ครูจะต้องอ่าน  เขียน  เป็นแบบอย่างให้กับเด็ก

4.   การตั้งความคาดหวัง   :    ครูจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเด็กในการอ่าน  เขียน  และจะทำให้เด็กเขียนได้ถูกต้องมากขึ้น

5.   การคาดคะเน   :     เด็กมีโอกาสจะทดลองกับภาษาหรือคำที่อ่านโดยไม่หวังให้เด็กอ่าน เขียนได้เหมือนผู้ใหญ่ 

6.   การใช้ข้อมูลย้อนหลัง   :    ยอมรับการตอบสนองของเด็กในการใช้ภาษา 

7.   การยอมรับนับถือ    :    เด็กมีความแตกต่างจะเลือกทำกิจกรรมด้วยตนเองและในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวหรือไม่ทำกิจกรรมเป็นลำดับขั้นตอน

8.   การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น   :    ครูจะต้องไม่ทำให้เด็กกลัวที่จะขอความช่วยเหลือหรือการใช้ภาษาและไม่ตราหน้าว่าไม่มีความสามารถ  เพราะจะทำให้เด็กไม่เชื่อมั่นในตัวครูไม่กล้าจะถามครูอีก

บทบาทของครู
  •  ครูคาดหวังแต่ละคนแตกต่างกัน
  • ใช้ประสบการณืตรงในสนับสนุนการอ่าน  เขียน
  •  ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
  • ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์
นำไปใช้

1.   สามารถจัดกิจกรรมสร้างประสบการณ์ทางภาษาของเด็กให้มีความสนใจที่ตรงกับความต้องการของเด็กเป็นหลัก

2.   ตัวครูเองจะต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาที่ดีให้กับเด็กเพื่อให้เด็กใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม

3.    ครูไม่ควรไปคาดหวังกับเด็กมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เด็กเกิดความไม่กล้าที่จะทำสิ่งนั้น




วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน     ครั้งที่   5

วันศุกร์   ที่  12   กรกฎาคม   พ.ศ.  2556    

วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย     กลุ่ม  101      เวลา   8.30-12.20  น.


วิธีการเรียนรู้ของเด็ก                       
  
พีนีย์  :   วิธีการเรียนรู้ผ่านการเล่น

      1.   การเรียนรู้ผ่านการเล่น   เช่น   การเล่นบทบาทสมมติ  พัฒนาการด้านร่างกาย   ความคิดสร้างสรรค์
      2.   การเรียนรู้โดยปฏิสัมพันธ์กับครู

องค์ประกอบของภาษา

      1.   Phonology    คือ  ระบบเสียงของภาษาที่มนุษย์ได้เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย   หน่วยเสียงจะประกอบเป็นคำ
      2.   Semantic      คือ   ความหมายของภาษาและคำศัพท์ซึ่งคำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย และความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน

ตัวอย่างเช่น

ภาษาไทย                                   ภาษาลาว


                    ห้องคลอด                                   ห้องประสูติ

                    ห้องไอซียู                                   ห้องมรสุม
                                              
                    ผ้าเย็น                                          อนามัย

                   ห้องผ่าตัด                                    ห้องปาด

                ถุงยางอนามัย                                ถุงปลิดชีวิต


    3.   Syntax     คือ   ระบบไวยากรณ์  การเรียงรูปประโยค   เช่น  ครูตีเด็ก   เด็กถูกครูตี   เป็นต้น

    4.   Praymatic    คือ   ระบบการนำไปใช้ โดยใช้ภาษาถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ


แนวคิดนักการศึกษา

     1.   แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม

     -    Skinner      สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษาให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

     -     JohnB.  Watson    ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก         การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก  เป็นสิ่งที่สามารถกกระทำได้   และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรม

    -     นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
            
  1. ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
  2. การเรียนภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมดดยสิ่งแวดล้อม
  3. เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
  4. เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม  เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
  5. เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเกิดเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น

    2.    แนวคิดกลุ่มพัฒนาการสติปัญญา

           -    Piaget     เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
           -    Vygotsty     สังคมบุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก  เป็นบทบาทของผู้ใหญ่ที่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

   3.     แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

           -     Arnold  Gesell    เน้นความพร้อมร่างกายในการใช้ภาษา   ความพร้อมวุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
  
   4.     แนวคิดเชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด

          -    Noam   Chomsky
         
             1.    ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
             2.    การเรียนภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
             3.    มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษาตั้งแต่เกิด

        -     O.  Hobart   mowrer   :   คิดค้นทฤฎีความพึงพอใจ  คือ    ความสามารถในการรับฟังและความเพลิดเพลินจากการได้  ส่งเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง   เป็นสิ่งสำคัญอบ่างยิ่งต่อการพัฒนาภาษา

       -     แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษา   :   เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก     นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน

       Richard   and   Rodger   :   ภาษาในการจัดประสบการณ์แบ่งเป็น  3  กลุ่ม

      1.    มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา  
  •   นำองค์ประกอบย่อยของภาษาใช้ในการสื่อความหมาย
  •   เสียง    ไวยากรณ์   การประกอบคำเป็นวลีหรือประโยค
      2.    มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา 
  •    เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
  •    การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
  •    ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
      3.     มุมมองด้านปฎิสัมพันธ์
  •     เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ในทางสังคม
  •     การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  •     เด็กมีปฎิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา



























































































วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เสนอรายงานหน้าชั้นเรียน

บันทึกอนุทิน    ครั้งที่ 4

นำเสนอหน้าชั้น
   



บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

           ไม่ได้เข้าเรียน

         หมายเหตุ    เพราะเป็นวันรับน้องใหญ่


                                           

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน

บันทึกอนุทิน   ครั้งที่  2

ความหมายของภาษา
 
            ภาษา  คือ  การสื่อความหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก  การสื่อสารทางภาษาไม่ใช่แต่การพูดหรือเขียนเท่านั้นอาจจะเป็นภาพ

ความสำคัญของภาษา

           1.  ภาษาเป็นเครื่องมือใช้ในการติดต่อสื่อสาร
           2.  ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
           3.  ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
           4.  ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

  • ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา  (Piaget)    การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางภาษาและสติปัญญา
  • กระบวนการเรีบนรู้   2    กระบวนการ  คือ
            1.   การดูดซึม  ( Assimilation )    เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
            2.   การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่  ( Accommodation  )     เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม    โดยการปรับความรู้สึกเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ

         เพียเจต์  แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญามีความสัมพันธ์กับภาษา

              1.   ขั้นพัฒนาด้านประสาทสัมผัส   ( Sensorimotor  stage )   แรกเกิด - 2 ปี
เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ   เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากกสิ่งแวดล้อม  บุคคลรอบตัว    เด็กสนใจสิ่งรอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
              2.    ขุั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุ  ( Preoperational  stage )    
                      2.1   อายุ  2-4  ปี   (Preconceptual  period  )    เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร  เล่นบทบาทสมมติ  การเล่าเรื่อง   แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า  ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
                      2.2    อายุ  4-7  ปี  (  lntuitive  period  )     .ใช้ภาษาได้ดีกับคนรอบข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมบ้าง   ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง   รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการภาษาจัดกลุ่มวัตถุ

             3.    ขั้นการคิดรูปธรรม   ( Concrete  Operational  stage  )    อายุ   7-11  ปี     เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยใช้เหตุผล  เป็นรูปธรรม
             4.     ขั้นการคิดแบบนามธรรม   ( Formal    Operational    stage  )   อายุ   11-15  ปี  เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ   ใช้เหตุผลแก้ปัญหา  เข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคม

  • พัฒนาการภาษาของเด็ก     เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นลำดับ  ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจหรือยอมรับหากเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
  • จิตวิทยาการเรียนรู้
            1.   ความพร้อม  วินัย  ความสามารถ  และประสบการณ์เดิมของเด็ก
            2.   ความแตกต่างระหว่างบุคคล   อิทธิพลทางพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
            3.   การจำ   การเห็นบ่อยๆ   การทบทวนเป็นระยะ   การจัดเป็นหมวดหมู่     การใช้คำสัมผัส
            4.   การใช้แรงเสริมทางบวกและแรงเสริมทางลบ 






การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกอนุทิน   ครั้งที่ 1

สิ่งที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือ ความหมายและความสำคัญ แนวคิดในการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย   เข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยมากขึ้น  ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็ก คือ ครู   ชุมชน    โรงเรียน  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  และในแต่ระดับชั้นในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยว่ามีความแตกต่างกัน


แผนผัง......