วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน   ครั้งที่   16

วันศุกร์   ที่  27    กันยายน    2556

ความรู้ที่ได้รับ





บันทึกอนุทิน    ครั้งที่  15

วันศุกร์   ที่   20   กันยายน   2556

ความรู้ที่ได้รับ


                                                 

                                                                                 

                                                                                                                                 








วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่   14

วันศุกร์ที่  13   กันยายน   พ.ศ.  2556

ความรู้ที่ได้รับ

เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากมุมต่างๆ ได้อย่างอิสระและได้เห็นสัญลักษณ์
ของตัวอักษรที่สื่อออกมา  เพื่อเกิดการเรียนรู้ที่ดี


     









 
 
 

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  13
 
วันศุกร์   ที่   6   กันยายน   พ.ศ.   2556

ความรู้ที่ได้รับ
 
การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
 
     สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้กับเด็กคุ้นเคยกับภาษา  และใช้ภาษาอย่างมีความหมายอย่างเป็นองค์รวมและส่งเสริมทักษะทางภาษา โดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา
 
หลักการ
 
1.   สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กได้สำรวจในห้องเรียน  ลงมือกระทำเปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระ   และควรได้ตั้งสมมติฐานด้วยให้เด็กสงสัย
2.   สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน  ครู  และเด็กควรสื่อสารสองทางโดยเด็กถามก็ต้องตอบด้วย
3.   สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนควรเน้นความหมายมีจุดมุ่งหมายในการเล่น การสื่อสารมีหลายรูปแบบต่างๆ
4.   สิ่งแวดล้อมประกอบด้วยหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์ และปฏิสัมพันธ์หลายรูปแบบ
 
มุมจัดประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และทักษะทางภาษา
 
-   มุมหนังสือ    ต้องมีชั้นวางหนังสือ  มีบรรยายกาศสงบเงียบ  มีพื้นที่นั่งอ่านได้คนเดียวหรือกับเพื่อน และมีดิสอ  กระดาษในการเขียน
-   มุมบทบทาสมมติ    ให้เด็กเล่นเป็นตัวละคร  มีอุปกรณ์ที่หลากหลาย มีพื้นที่เพียงพอ
-   มุมศิสปะ     การวาดภำาพตามความคิด  จิตนาการ  และเตรียมอุปกรณ์ในการวาดภาพ  เข่น   ดินสอ   ยางลบ   สี   กรรไกร   กาว
-    มุมดนตรี    มีทั้งที่เป็นของจริงและของเล่น เช่น   กลอง   ระนาด  ขลุ่ย    เครื่องเคาะจังหวะ


  

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน   ครั้งที่  12

วันที่   23  สิงหาคม   พ.ศ.  2556  


















วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่   11

วันศุกร์   ที่   23   สิงหาคม   2556

 ความรู้ที่ได้รับ




เด็กสามารถรู้คำศัพท์ ทั้งภาษาอังกฤษ และไทย เพื่อให้เด็กได้สื่อสาร รู้ความหมายของคำศัพท์   ซึ่งครูก็สามารถที่จะนำไปเป็นสื่อในการให้เด็กได้รู้ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

สื่อการเรียนรู้ทางภาษา 

ความหมายของสื่อ  คือ   วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆ ที่กระตุ้นส่งเสริม จูงใจให้เด็กเกิดความสนใจ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา

ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา

เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
เข้าใจได้ง่าย และ จำได้ง่าย  เร็ว นาน
เป็นรูปธรรม

ประเภทสื่อการสอน

1. สื่อสิ่งพิมพ์  คือ  สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์ เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร  การใช้คำ  ประโยค
2. สื่อวัสดุ อุปกรณ์   คือ   สิ่งของต่างๆ  ที่เป็นของจริง    หุ่นจำลอง  ซึ่งสื่อชนิดนี้เป็นสื่อที่ดีที่สุด
3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์   คือ   สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ  เช่น  คอมพิวเตอร์
4.  สื่อกิจกรรม   คือ   วิธีการใช้ในการฝึกปฏิบัติ  ทักษะ ใช้กระบวนการคิดในการทำกิจกรรม
5.   สื่อบริบท   คือ   สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์  สภาพแวดล้อม
และห้องเรียน









                                                                       

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
 
วันศกุร์  ที่  16   2556


 ความรู้ที่ได้รับ

หุ่นนิ้วมือ ฝึกให้เด็กกล้าแสดงออก และใช้นิ้วมือในการเคลื่อนไหว

เด็กจะได้ทักษะในการใช้ภาษา เช่น การแสดงบทบาทสมมติ



 

 
 
 
 
 
 

 

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  9

ความรู้ที่ได้รับ

     การทำงานกลุ่มหรืเป็อนคณะเราจะต้องพุดคุยแสดงความคิดเห็นออกมา  ใช้ภาษาในการสื่อสาร  และยังได้ความคิดจิตนาการในการสร้างสรรค์ผลงาน





                                                       


                                                        


                                                         

การนำไปใช้

1.  ควรที่จะแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกันในกลุ่มหมูคณะ

2.   สามารถทำให้เด็กมีการสื่อสารที่ดีใช้ในชีวิตประจำวันได้





วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน   ครั้งที่  8

วันศุกร์    ที่   2  สิงหาคม  พ.ศ.  2556

ไม่ได้เข้าเรียน

หมายเหตุ  :    มีการสอบกลางภาค


วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  7
วันที่  26   กรกฎาคม    พ.ศ.   2556
ความรู้ที่ได้รับ



การเล่านิทานโดยการเล่าจากภาพวาดต่อจากเพื่อน   จากจิตนาการและทักษะทางภาษาจากการเล่าซึ้งนำไปใช้กับเด็กได้  เช่น   การทำกิจกรรมต่างๆควรเลือกสิ่งที่เด็กสนใจ  ต้องการเป็นอิสระมีความคิดและจิตนาการของเด็ก ไม่ควรมีลำดับขั้นตอน

การประเมิน

1.  การประเมินเครื่องมือที่หลากหลาย
2.  เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก  เช่น

     -   บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้และถ่ายทอดออกมา
     -   สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้

3.   ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย    เช่น   เด็กบางคนพูดเก่งเมื่ออยู่กับเพื่อน  แต่ออกมาหน้าชั้นเรียนอาจจะอายและไม่คอยพูด   เพราะฉะนั้นเราจะต้องดูหลายบริบทที่เขาทำ
4.   ให้เด็กมีโอกาสประเมินตัวเอง   เช่น   ให้เด็กได้เห็นผลงานของตนเองว่ามีพัฒนาการเป็นอย่างไร
5.   ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการเล่นและผลงาน   เช่น   ครูจะต้องใส่ใจถึงกระบวนการคิดของเด็กอย่าไปตัดสินใจที่ผลงานของเด็ก
6.    ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล   คือ   เราจะประเมินเด็กรวมไม่ได้ต้องดูของแต่ละคน

กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา

-   การเขียนคำบอก
-   ช่วยเด็กเขียนบันทึก
-   อ่านนิทานร่วมกัน
-   ร้องเพลง

ในผลงานของเด็กแต่ละชิ้นครูควรที่จะให้เด็กจิตนาการ   ส่วนครูมีหน้าที่เขียนบรรยายให้กับเด็ก

นำไปใช้

   การทำกิจกรรมของเด็กจะต้องเป็นอิสระเพื่อให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และจิตนาการในผลงานที่ทำไม่ควรมีข้อจำกัดพื้นที่ความคิดของเด็ก   และหากิจกรรมที่เพิ่มทักษะทางภาษาให้เหมาะสมกับเด็ก






วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน    ครั้งที่  6

วันศุกร์   ที่  19  กรกฎาคม   พ.ศ.  2556


ความรู้ที่ได้รับ

 แนวทางจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    
    1.  การจัดประสบการณ์ทางภาษาเน้นทักษะทางภาษา ( Skill   Approch )   

         -   การให้เด็กรู้จักคำย่อยๆของภาษา
         -   การประสมคำ
         -   ความหมายของคำ
         -   นำคำมาประกอบเป็นประโยค  
         -   การแจกลูกสะกด   การเขียน     เช่น
กู  งู   ดู   หู   รู   ปู   เป็นต้น   ซึ่งบางคำอาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายจึงไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กและลักษณะการเรียนรู้

Kenneth   Goodman  :   ได้เสนอแนวทางการสอนแบบธรรมชาติมีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด   แนวทางการสอนพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็กที่สนใจ  อยากรู้  อยากเห็น  สิ่งรอบข้าง  ช่างสงสัย  ช่างซักถามโดยเด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์ และจิตนาการ ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเลียนแบบคนรอบข้าง

    2.   การสอนแบบธรรมชาติ  ( Whole   Language  )   
         
           ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ :  อาทิ ดิวอี้ (Dewey) เปียเจต์ (Piaget) ไวก็อตสกี้ (Vygotsky) ฮอลลิเดย์ (Halliday)  
โดยสรุปการสอนแบบธรรมชาติ    คือ    สอนแบบบูรณาการ  องค์รวม สอนในสิ่งที่เด็กสนใจ  สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน   สอดแทรกทักษะการฟัง  พูด   อ่าน    เขียน ไปพร้อมกับกิจกรรมไม่เข้มงวดกับการท่อง  สะกด หรือบังคับเด็กให้เขียน

หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

1.   การจัดสภาพแวดล้อม  :   ตัวหนังสือที่ปรากฎอยู่ในห้องเรียนจะต้องมีประโยชน์ในการใช้จริงๆ และเด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม

2.  การสื่อสารที่มีความหมาย   :    เด็กสามารถสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงมีจุดมุ่งหมายให้เด็กใช้เวลาในการอ่านและการเขียนตามโอกาส

3.   การเป็นแบบอย่าง    :    ครูจะต้องอ่าน  เขียน  เป็นแบบอย่างให้กับเด็ก

4.   การตั้งความคาดหวัง   :    ครูจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเด็กในการอ่าน  เขียน  และจะทำให้เด็กเขียนได้ถูกต้องมากขึ้น

5.   การคาดคะเน   :     เด็กมีโอกาสจะทดลองกับภาษาหรือคำที่อ่านโดยไม่หวังให้เด็กอ่าน เขียนได้เหมือนผู้ใหญ่ 

6.   การใช้ข้อมูลย้อนหลัง   :    ยอมรับการตอบสนองของเด็กในการใช้ภาษา 

7.   การยอมรับนับถือ    :    เด็กมีความแตกต่างจะเลือกทำกิจกรรมด้วยตนเองและในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวหรือไม่ทำกิจกรรมเป็นลำดับขั้นตอน

8.   การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น   :    ครูจะต้องไม่ทำให้เด็กกลัวที่จะขอความช่วยเหลือหรือการใช้ภาษาและไม่ตราหน้าว่าไม่มีความสามารถ  เพราะจะทำให้เด็กไม่เชื่อมั่นในตัวครูไม่กล้าจะถามครูอีก

บทบาทของครู
  •  ครูคาดหวังแต่ละคนแตกต่างกัน
  • ใช้ประสบการณืตรงในสนับสนุนการอ่าน  เขียน
  •  ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
  • ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์
นำไปใช้

1.   สามารถจัดกิจกรรมสร้างประสบการณ์ทางภาษาของเด็กให้มีความสนใจที่ตรงกับความต้องการของเด็กเป็นหลัก

2.   ตัวครูเองจะต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาที่ดีให้กับเด็กเพื่อให้เด็กใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม

3.    ครูไม่ควรไปคาดหวังกับเด็กมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เด็กเกิดความไม่กล้าที่จะทำสิ่งนั้น